รูปแบบอาชญากรรม


III อาชญากรรม III




รูปแบบอาชญากรรม

1. อาชญากรรมอาชีพ (Professional Crime)

คือ ผู้ที่ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการประกอบอาชญากรรม โดยไม่มีการประกอบอาชีพอื่นที่สุจริต เนื่องจากเห็นว่าลำบาก หรือมีรายได้น้อย หรือบางครั้งอาจมีการประกอบอาชีพอื่นที่สุจริตแต่เป็นการบังหน้าเท่านั้น รวมทั้งอาจใช้อาชีพสุจริตที่บังหน้าเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชญากรรม

ลักษณะสำคัญของอาชญากรรมอาชีพ
1. มีทักษะ หรือ ความชำนาญในการประกอบอาชญากรรม
2. เป็นอาชญากรรมที่อาชญากรมักคิดว่าตนเองเป็นอาชญากรชั้นสูงกว่า อาชญากรประเภทอื่น ๆ เนื่องจากต้องใช้ทักษะความชำนาญพิเศษ
3. มีรายได้หลักจากการประกอบอาชญากรรม

4. ในบางครั้งอาจมีการดำเนินงานในรูปแบบของอาชญากรรมองค์กรที่มีการแบ่งงาน ภาระหน้าที่ในองค์กรอย่างชัดเจน



2. อาชญากรรมติดนิสัย (Habitual Crime)

คือ อาชญากรไม่สามารถปฏิบัติตนให้เข้ากับมาตรฐานของสังคม โดยทั่วไปจะไม่พบความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจตั้งแต่แรกเกิด มักจะเกิดขึ้นจากภาวะบีบคั้นให้มีพฤติกรรมที่ผิดปกติขึ้นทีละน้อยและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มักจะมีพื้นฐานทางครอบครัวดี มีการศึกษา แต่มาคมกับกลุ่มมิจฉาชีพ หรือใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจนต้องกระทำผิด



3. อาชญากรรมปกเสื้อขาว (White Collar Crime)

คือ พวกที่ทำงานมีตำแหน่ง หน้าที่การงาน จัดเป็นชนชั้นสูงในสังคม ลักษณะการกระทำผิดเป็นการกระทำผิดกฎหมายโดยอาศัยอิทธิพลของตนที่มีอยู่ในกิจการต่างๆ เช่น การทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวง โกงภาษี



4. อาชญากรรมการเมือง (Political Crime)

คือ Mannheim ให้คำจำกัดความว่า การกระทำเพื่อนำมาซึ่งความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทางการเมือง ซึ่งตามกฎหมายถือเป็นความผิด แต่ผู้กระทำไม่ถือว่าเป็นความผิดแต่อย่างใด เช่น การทุจริตการเลือกตั้ง การกบฏ



5. อาชญากรรมร่วมกันกระทำ (Organized Crime)

คือ การรวมคัวกันของอาชญากรเพื่อดำเนินการอย่างมีแบบแผน ผู้กระทำผิดดำเนินการทุกอย่างเพื่อให้ได้เงินมา อิทธิพลที่สนับสนุนให้อาชญากรกลุ่มนี้ดำเนินการได้ คือ อิทธิพลทางการเงิน การกระทำผิดในกลุ่มนี้ เช่น ค้ายาเสพติด จัดหาหญิงโสเภณี คุมบ่อนการพนัน ขู่กรรโชกทรัพย์ โดยอ้างความคุ้มครอง(มาเฟีย)

6. อาชญากรรมเป็นครั้งคราว (Occasional Crime)

คือ อาชญากรรมที่ไม่เจตนาจะฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น การกระทำผิดโดยความประมาทหรือป้องกันตนเอง



7. อาชญากรรมอุกฉกรรจ์ (Violent Crime)

คือ ผู้กระทำผิดไม่เคยมีประวัติประกอบอาชญากรรมแต่อาจตกอยู่ภายใต้วัฒนธรรมย่อยของกลุ่ม ซึ่งเป็นผลให้กระทำผิด เช่น ฆ่าคนตายโดยเจตนา ข่มขืน



8. อาชญากรรมข้ามชาติ

คือ การกระทำความผิดโดยละเมิดกฎหมายอาญา โดย ผู้ก่อกระทำขึ้นในประเทศหนึ่ง มีผลเสียหายเชื่อมโยงอีกประเทศหนึ่ง

ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ

1. โสเภณี

2. ยาเสพย์ติด

3. ลักทรัพย์

4. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

5. แรงงานข้ามชาติ

6. การฉ้อโกง




9. อาชญากรรมการเมือง

คือ การกระทำผิดที่ละเมิดต่อกฎหมายอาญาซึ่งก่อให้เกิดผลเสียทางการเมืองโดยเฉพาะความมั่นคงทางการเมืองหรือเสถียรภาพทางการเมืองโดยมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเป็นสำคัญ

รูปแบบอาชญากรรมทางการเมือง

1.การก่อความไม่สงบ

2.การลอบสังหารหรือทำร้ายนักการเมือง

3.การปฏิวัติเพื่อช่วงชิงอำนาจในการปกครอง

4.สงครามการเมืองภายในประเทศ

5.การทำสงครามจิตใจภายใน

6.การทำทุจริตเกี่ยวกับการเลือกตั้ง



10. อาชญากรรม เศรษฐกิจ

คือ อาชญากรรมที่เกิดผลเสียหายแก่เศรษฐกิจของปัจเจกชน และประเทศชาติสังคม ส่วนรวม

*ทำลายความเชื่อถือ

*ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ



อาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น